วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ดนตรีคลาสสิก

ดนตรีคลาสสิก

ดนตรีคลาสสิค (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะกล่าวถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของประเทศทางฝั่งตะวันตก

การ แสดงดนตรีคลาสสิคนี้นิยมใช้เครื่องดนตรีชนิดเครื่องสาย (String instruments) เป็นหลัก เช่น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ เบส เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่า ออร์เคสตรา (orchestra) ซึ่งมีผู้ควบคุมวง (conductor) เป็นผู้อำนวยเพลง และนำการบรรเลงเพลงหรือบางท่อนของเพลง หรือเรียกว่า piece

เครื่องดนตรีที่ใช้
การบรรเลงเพลงหรือท่อนของ เพลงบางประเภท นิยมใช้วง ซิมโฟนีออเคสตรา (symphony orchestra) ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างวงเครื่องสาย เครื่องเป่าแตรทองเหลือง (brass instruments) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น และ ทูบา เครื่องเป่าลมไม้ (Wood winds) เช่น คลาริเน็ต ฟลุต โอโบ และบาสซูน และ เครื่องเพอร์คัชชั่น (percussion) เช่น กลอง และ ฉาบ


ประวัติ และ เวลา
ดนตรีคลาสสิคสามารถแบ่งออกเป็นช่วงยุคดังนี้

1.ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง (Medieval European Music พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943)
ดนตรี คลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง เป็นดนตรีที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ

2. ดนตรียุคเรเนสซองส์ (Renaissance Music พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143)
นับ เริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น

3. ดนตรียุคบาโรค (Baroque Music พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293)
ยุค นี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดิ เป็นต้น

4. ดนตรียุคคลาสสิค (Classical Period Music พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363)
เป็น ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศุนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์(Mannheim) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น

5. ดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443)
เป็น ยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังความเบา และจังหวะ ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ไชคอฟสกี เป็นต้น

6. ดนตรียุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Calssical Music พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2543)
นัก ดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อนๆ จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น(Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่า แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี เป็นต้น

7. ดนตรียุคปัจจุบัน (ช่วงทศวรรษหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน)

แบ่งตามประเภทวงที่บรรเลง และประเภทของการแสดง

เดี่ยวเครื่องดนตรี
เปียโนสี่มือ ,เปียโน
แชมเบอร์มิสิก
วงดูโอ
วงทริโอ
วงควอเต็ต
วงควินเต็ต
วงเซ็กซ์เต็ต
วงซิมโฟนีออร์เคสตรา
อุปรากร หรือ โอเปร่า
โอเปเร็ตต้า
บัลเลต์
ขับร้อง
ขับร้องเดี่ยว
ขับร้องประสานเสียง

แบ่งตามโครงสร้าง (Form) ของเพลง
คอนแชร์โต้ - Concerto
ซิมโฟนี่ - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia]
โซนาต้า - Sonata
ฟิวก์ - Fugue
เปรลูด - Prelude
โอเวอร์เจอร์ - Overture
บัลลาด - Ballade
เอทู๊ด - Etude
มาร์ช - March
คันตาตา - Cantata
วาริเอชั่น - Variation
แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy]
กาวอต - Gavotte
มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet]
เซเรเนด - Serenade
พอลก้า - Polka
แคน แคน - Can-Can
คานอน - Canon
โปโลเนส - Polonaise
อาราเบส - Arabesque
โฮโมรี๊ส - Humoresque
น็อคเทิร์น - Nocturne/Nocturno
สวีท - Suite
ทอคคาต้า - Toccata
บากาเตล - Bagatelle
ตารันเตลลา - Tarantella
ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento
บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music
โมเต็ต - Motet
แพสชั่น - Passion
ออราทอริโอ - Oratorio
มิสซา - Mass
เรควีเอ็ม - Requiem

รายชื่อศิลปินดนตรีคลาสสิกที่มีแบ่งตามยุค
ยุคกลาง
Léonin
Pérotin
Phillippe de Vitry
Guillaume de Machaut
ยุคเรเนสซองส์
Guillaume Dufay
Johannes Ockeghem
Josquin Des Prez
Jacob Obrecht
Claude Le Jeune
Giovanni Palestrina
Orlando di Lasso
Carlo Gesualdo
Adriane Willaert
ยุคบารอค
Claudio Monteverdi
ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully)
Jean Phillippe Rameau
โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach)
จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล (Georg Friedrich Händel)
Georg Phillip Telemann
Henry Purcell
อันโตนิโอ วิวัลดิ (Antonio Vivaldi)
โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel)
ยุคคลาสสิค
Carl Phillip Emanuel Bach
Johannes Christian Bach
Christoph Willibald Gluck
โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิร์น (Franz Joseph Haydn)
ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)
ยุคโรแมนติค
ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven)
ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert)
เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frédéric François Chopin)
เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Felix Mendelssohn-Batholdy)
แอนโทนิน ดโวชาค (Antonín Dvořák)
ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner)
จูเซปเป แวร์ดิ (Giuseppe Verdi)
เอกตอร์ แบร์ลิโยส (Hector Berlioz)
ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี้ (Peter Ilyich Tchaikovsky)
โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ Schumann
โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms)
โยฮันน์ สเตราส์ บิดา (Johann Strauss father)
โยฮันน์ สเตราส์ บุตร (Johann Strauss son)
ชาร์ลส กูนอด (Charles Gounod)
แอนตัน บรุคเนอร์ (Anton Bruckner)
ริเคอร์ด สเตราส์ (Richard Strauss)
กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler)
ฮูโก วูล์ฟ (Hugo Wolf)
ยาน ซิเบเลียส (Jean Sibelius)
ยุคศตวรรษที่ 20
อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg)
โคลด เดอบุซซี (Claude Debussy)
ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives)
คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff)
อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky)
อัลบัน แบร์ก (Alban Berg)
อันโตน เวเบิร์น (Anton Webern)
เบลา บาต๊อค (Béla Bartók)
ดิมิทรี ดิมิทรีวิช ชอสตาโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich)
โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen)
วิโทลด์ ลูโทสลาฟสกี (Witold Lutoslawski)
จอห์น เคจ (John Cage)
ยุคปัจจุบันหรือ คริสต์ศตวรรษที่ 21
ปิแอร์ บูเลซ (Pierre Boulez)
คาร์ลไฮน์ สต็อกเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen)
ลูเซียโน เบริโย (Luciano Berio)
ลุยจิ โนโน (Luigi Nono)
ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis)
เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter)
Milton Babbitt
วอล์ฟกัง รีห์ม (Wolfgang Rihm)
Arvo Pärt
Sofia Gubaidulina
Giya Kancheli
ยอร์กี ลิเกตี (Gyorgy Ligeti)
คริสตอฟ เพนเดเรซกี Krzysztof Penderecki
ยอร์กี เคอร์ทัค Gyorgy Kurtag
เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann)
สตีฟ ไรค์ (Steve Reich)
Philip Glass
John Adams
John Zorn
Toru Takemitsu
Tan Dun
Chen Yi
Unsuk Chin
ดูเพิ่มได้อีกที่ คีตกวี

คีตกวีชาวไทยที่ประพันธ์ดนตรีคลาสสิกในปัจจุบันที่มีงานดนตรีออกมาอย่างสม่ำเสมอ
ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
วีรชาติ เปรมานนท์
สุรัตน์ เขมาลีลากุล
ณรงค์ ปรางเจริญ
อติภพ ภัทรเดชไพศาล
เด่น อยู่ประเสริฐ
วานิช โปตะวนิช
บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ (www.musicbyboonrut.com)
อภิสิทธ์ วงศ์โชติ
นบ ประทีปะเสน
ศิรเศรษฐ ปันธุรอัมพร
วิบูลย์ ตระกูลฮุ้น
จักรี กิจประเสริฐ
อโนทัย นิติพล
จิรเดช เสตะพันธุ
ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่
ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert)
เอริก ซาที (Erik Satie)
จอร์เจอส์ บิเซท (Georges Bizet)
เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók)
คาร์ล เซอร์นี (Carl Czerny)
โคล้ด เดบุซซี่ (Claude Debussy)
โยฮันน์ เฟรดริก ฟร้านซ์ เบิร์กมุลเลอร์ (Johann Friedrich Franz Burgmüller)
ฟร้านซ์ ลิซท์ (Franz Liszt)
ชาคส์ ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach)
จิอาโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini)
ฟรานซิส ปูเลงค์ (Francis Poulenc)
จูเซปเป แวร์ดิ (Giuseppe Verdi)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น